Monthly Archives: August 2015

ความปลอดภัยของเครนติดรถในการยกของก่อนที่จะมีการยกของนั้นควรได้มีการตรวจสอบสภาพของการจับยึด

terex-125.2-v-truck-mounted-crane-125-knm-เครน-เครนติดรถ-เครนพับ-atlas-101696

การตรวจเครนติดรถควรกระทำทุก 1 หรือ 3 เดือน หรือตามบริษัทผู้ผลิตแนะนำ แต่ไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด สำหรับปั้นจั่นที่หยุดใช้งานเกินกว่า 1 เดือน เมื่อนำมาใช้งานควรตรวจสอบเช่นกัน การตรวจสอบเครนติดรถทำได้ดังนี้ ตรวจการทำงานของอุปกรณ์และชิ้นส่วนควบคุมเครนติดรถ เพื่อหาการสึกหรอ การชำรุด หรือความผิดปกติอื่นๆ ตรวจการทำงานและการชำรุดของต้นกำลังระบบส่งกำลัง ผ้าเบรคและคลัช เป็นต้น ตรวจที่รองรับ เช่น คาน เสา รางเลื่อน แขน และโครงสร้าง เป็นต้น เพื่อหาการสึกหรอ สนิม ผุกร่อน และบิดเบี้ยว โดยเฉพาะบริเวณที่เชื่อมหรือยึดด้วยสลักเกลียว ตรวจการชำรุดหรือสึกหรอของรอกหรือดรัม โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของดรัมต้องมากกว่าของลวดสลิง 15 ต่อ 1 ตรวจการชำรุดหรือสึกหรอของลวดสลิง เชือก หรือโซ่ ตามที่กล่าวแล้วตรวจตะขอและที่ล็อค เพื่อดูการชำรุด บิดงอ ปากถ่าง หรือแตกร้าวสำหรับเครนติดรถที่ติดตั้งบนรถบรรทุก ต้องตรวจสอบรถบรรทุกเกี่ยวกับเบรค ยาง พวงมาลัย และไฟสัญญาณต่างๆ

ความปลอดภัยในการยกของก่อนที่จะมีการยกของนั้นควรได้มีการตรวจสอบสภาพของการจับยึด การควบคุมทิศทางของของที่ยกสลิงและอุปกรณ์ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีการทำลายทิ้ง เพื่อไม่ให้มีการนำมาใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กฎทั่วไปประกอบด้วยการจับยึดของที่จะยกต้องมีความแน่นหนาและเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดการร่วงหล่นขณะที่มีการยกของขึ้นที่สูงต้องมีการใช้เชือกหรือสลิง ในการควบคุมบังคับทิศทางการหมุนหรือแกว่งตัวของของที่ยกของที่จะยกจะต้องไม่ถูกยึดติดกับอะไร หรือถูกสิ่งอื่นทับอยู่และสลิงทุกเส้นต้องได้รับแรงเท่ากัน โดยดูได้จากความตึงของสลิงและใช้สลิงที่ยาวเท่ากัน ห้ามใช้เครนติดรถในการลาก ดึง สิ่งของโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ปั้นจั่นล้มได้ต้องระวังไม่ให้สลิงพันกัน เพราะจะทำให้สลิงขาด และเกิดอันตรายได้ต้องแจ้งให้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานออกจากพื้นที่ทำงานก่อนที่จะมีการยก ยกเว้นว่าจะได้รับมอบหมายและอบรมในการทำงานกับบริเวณที่มีอันตรายห้ามคนนั่งหรือขึ้นไปกับของที่จะยกเด็ดขาด เนื่องจากสลิงอาจขาดได้ทุกเมื่อขณะที่ไม่มีอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นมาช่วยก่อนหมุนเคลื่อนที่ หรือหมุนของที่ยก ผู้ควบคุมหน้างานต้องดูรัศมีที่จะหมุนไปไม่มีอะไรมากีดขวาง หรือเป็นอันตรายต่อผู้ที่ทำงาน เพราะคนขับรถเครนติดรถอาจมองไม่เห็นชัดเจนห้ามคนทำงานใต้ของที่แขวน ถ้าไม่มีการยึดอย่างแน่นหนาและตรวจสอบอย่างดีจากผู้ควบคุมงาน http://ktruck.co.th/

การเลือกใช้รูปแบบสายพานเพื่อให้ตรงกับอุปกรณ์ที่ใช้

e6

ปัจจุบันการทดสอบแรงดึงของสายพานลำเลียงถือได้ว่ามีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับความทนทานต่อการใช้งาน โดยทั่วไปแล้วสายพานลำเลียงจะถูกพัฒนาและออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อให้ทนทานต่อแรงดึงขนาดสูงและมักจะถือเป็นความท้าทานที่จะทำการทดสอบเพื่อให้ได้ค่าดังกล่าว ความเหนียวของวัสดุร่วมกับการใช้เส้นใยจำนวนมากและเรียงตัวทิศทางต่าง ๆ อาจส่งผลให้เกิดการลื่นหลุดของชิ้นงานหรือการเสียหายของชิ้นงานทดสอบในบริเวณจับยึดได้

ผู้ผลิตสายพานลำเลียงดังกล่าวติดต่อบริษัทภายหลังจากประสบปัญหาทั้งการลื่นหลุดของชิ้นงานทดสอบและการเสียหายของชิ้นงานทดสอบในบริเวณจับยึด รวมทั้งการลื่นของวัสดุที่ใช้ผลิตทำให้ชิ้นงานเกิดการลื่นหลุดออกจากปากจับชิ้นงาน เมื่อทำการเพิ่มแรงดันในการจับยึดเพื่อป้องกันการลื่นหลุด ก็ทำให้ชิ้นงานเริ่มที่จะเกิดการเสียหายที่บริเวณจับยึดแทน ทำให้เป็นสิ่งที่ท้าทายที่เกิดขึ้นหากชิ้นงานไม่ได้มีการใช้แถบเสริมแรงหรือเป็นพื้นที่หน้าตัดของชิ้นงานทดสอบมีขนาดเท่ากันโดยตลอดความยาวของชิ้นงานทดสอบ

การเลือกใช้รูปแบบของการทดสอบแบบมาตรฐานยกเว้นแต่มีการดัดแปลงชิ้นส่วนประกอบเล็กน้อยเพื่อที่จะทำให้การทดสอบชิ้นงานดังกล่าวประสบความสำเร็จ สิ่งแรกที่เราแนะนำคือให้ใช้ pneumatic side acting grips ที่มีแรงดันในการจับยึดสายพานที่เพียงพอ อาจจะเป็น pneumatic side acting grips รุ่น 5 กิโลนิวตัน หรือ 10 กิโลนิวตัน ในบางกรณี วัสดุอาจจะเกิดการเสียหายที่ต่ำกว่า 5 กิโลนิวตัน ดังนั้นแรงดันในการจับยึดที่มีให้มากขึ้นสำหรับปากจับรุ่น 10 กิโลนิวตันอาจมีความจำเป็นในการจับยึดชิ้นงานที่ประสบความสำเร็จ สิ่งนี้เป็นจริงเมื่อเส้นใยแต่ละเส้นเกิดการลื่นในระหว่างการทดสอบ เมื่อเส้นใยแต่ละเส้นของสายพานเกิดการลื่น จะเกิดความเข้มของความเค้นเกิดขึ้นและส่งผลให้ชิ้นงานเกิดการเสียหายในบริเวณจับยึด เราพบว่าสำหรับการทดสอบนี้ ปากจับรุ่น 10 กิโลนิวตันถือได้ว่าเหมาะสามถึงแม้ว่าชิ้นงานจะเกิดการเสียหายที่ค่าแรงต่ำกว่า 5 กิโลนิวตัน  http://www.thiansupa.com/