Daily Archives: August 10, 2015

การเลือกใช้รูปแบบสายพานเพื่อให้ตรงกับอุปกรณ์ที่ใช้

e6

ปัจจุบันการทดสอบแรงดึงของสายพานลำเลียงถือได้ว่ามีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับความทนทานต่อการใช้งาน โดยทั่วไปแล้วสายพานลำเลียงจะถูกพัฒนาและออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อให้ทนทานต่อแรงดึงขนาดสูงและมักจะถือเป็นความท้าทานที่จะทำการทดสอบเพื่อให้ได้ค่าดังกล่าว ความเหนียวของวัสดุร่วมกับการใช้เส้นใยจำนวนมากและเรียงตัวทิศทางต่าง ๆ อาจส่งผลให้เกิดการลื่นหลุดของชิ้นงานหรือการเสียหายของชิ้นงานทดสอบในบริเวณจับยึดได้

ผู้ผลิตสายพานลำเลียงดังกล่าวติดต่อบริษัทภายหลังจากประสบปัญหาทั้งการลื่นหลุดของชิ้นงานทดสอบและการเสียหายของชิ้นงานทดสอบในบริเวณจับยึด รวมทั้งการลื่นของวัสดุที่ใช้ผลิตทำให้ชิ้นงานเกิดการลื่นหลุดออกจากปากจับชิ้นงาน เมื่อทำการเพิ่มแรงดันในการจับยึดเพื่อป้องกันการลื่นหลุด ก็ทำให้ชิ้นงานเริ่มที่จะเกิดการเสียหายที่บริเวณจับยึดแทน ทำให้เป็นสิ่งที่ท้าทายที่เกิดขึ้นหากชิ้นงานไม่ได้มีการใช้แถบเสริมแรงหรือเป็นพื้นที่หน้าตัดของชิ้นงานทดสอบมีขนาดเท่ากันโดยตลอดความยาวของชิ้นงานทดสอบ

การเลือกใช้รูปแบบของการทดสอบแบบมาตรฐานยกเว้นแต่มีการดัดแปลงชิ้นส่วนประกอบเล็กน้อยเพื่อที่จะทำให้การทดสอบชิ้นงานดังกล่าวประสบความสำเร็จ สิ่งแรกที่เราแนะนำคือให้ใช้ pneumatic side acting grips ที่มีแรงดันในการจับยึดสายพานที่เพียงพอ อาจจะเป็น pneumatic side acting grips รุ่น 5 กิโลนิวตัน หรือ 10 กิโลนิวตัน ในบางกรณี วัสดุอาจจะเกิดการเสียหายที่ต่ำกว่า 5 กิโลนิวตัน ดังนั้นแรงดันในการจับยึดที่มีให้มากขึ้นสำหรับปากจับรุ่น 10 กิโลนิวตันอาจมีความจำเป็นในการจับยึดชิ้นงานที่ประสบความสำเร็จ สิ่งนี้เป็นจริงเมื่อเส้นใยแต่ละเส้นเกิดการลื่นในระหว่างการทดสอบ เมื่อเส้นใยแต่ละเส้นของสายพานเกิดการลื่น จะเกิดความเข้มของความเค้นเกิดขึ้นและส่งผลให้ชิ้นงานเกิดการเสียหายในบริเวณจับยึด เราพบว่าสำหรับการทดสอบนี้ ปากจับรุ่น 10 กิโลนิวตันถือได้ว่าเหมาะสามถึงแม้ว่าชิ้นงานจะเกิดการเสียหายที่ค่าแรงต่ำกว่า 5 กิโลนิวตัน  http://www.thiansupa.com/